Description
ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัน) หรือในภาษาพราหมณ์เรียกว่า “ท้าวกุเวร“ ถ้าในพระพุทธศาสนาจะเรียก “ท้าวไพสพ“ เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย โดย ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประทับทางทิศเหนือมีอสูร รากษส และภูตผีปีศาจเป็นบริวาร ว่ากันว่าอาณาเขตที่ ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองนั้นใหญ่มหาศาลมาก และ ท้าวเวสสุวรรณ ยังเป็นหัวหน้าของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4
ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวท้าวเวสวัณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน มีความเชื่อกันว่า ผู้ใดห้อยบูชาท้าวเวสสุวรรณ จะบังเกิดโชคลาภมากมาย ร่ำรวยเงินทอง มีกินมีใช้ไม่ขาดแก้ปีชง เสริมปีชง เทพแห่งปีชง ป้องกันภัยจากสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ป้องกันภูติ ผีวิญญาณต่างๆไม่กล้ามาทำอันตรายใดๆให้กับคนในครอบครัว ในร้านนั้นๆ เพราะภูติผีปีศาจ ยักษ์ เป็นบริวารท้าวเวสสุวรรณ
ในตำราโบราณได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดต้องการ ความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา สูงสุดทางมหาเศรษฐีมีทรัพย์ ลาภยศ สรรเสริญสุข ไหลมาไม่ขาดสาย และขจัด ภูตผีปีศาจ สิ่งอัปมงคลไม่กล้าเข้ามารบกวน และช่วยบันดาลโชคลาภโภคทรัพย์ให้แก่ผู้บูชา
คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ
อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณมรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโตเวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโมพุทธายะ
คาถาบูชาพญาครุฑ สวดเสริมบารมีและความรุ่งเรือง
ตั้งนะโม 3 จบ
สวดคาถาบูชาพญาครุฑ
อะหัง ครุฑธาเรนะ (3 จบ หรือ 9 จบ)
คาถาบูชาพญาครุฑ
– คะรุฑาเทวาราช ราชาเวหา อิทธิฤทธา อิทธิเดชา นะ มะ อะ อุ (สวด 3-5-7-9 จบ)
คาถาบูชาพญาครุฑ
โอม มะมุต มหามุต ข้าพญาครุฑจะเดินหน ฝูงนาคาจงถอยไปให้พ้น ข้าจะเสกด้วยนะโมพุทธายะ นะชาลีติ ปู่ก้าวเสด็จก๋า สิทธัตถะฯ
คาถาบูชาพญาครุฑ
คะรุปิจะ กิติมันตัง มะอะอุ โอมพญาครุฑ รุจ รุจ แล้วรวย นะ ได้เงิน นะ ได้ทอง นะ ได้ทรัพย์ นะ เมตตา นะ ล้างอาถรรพ์ นะ เจริญ นะ มั่นคง อธิฐามิ